วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

มาดูวิธีต่อภาษีรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

มาดูวิธีต่อภาษีรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
มาดูวิธีต่อภาษีรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

การต่อภาษี รถยนต์

ยื่นล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 3 เดือน และเจ้าของรถสามารถยื่นเสียภาษีได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
ไม่ว่าจะจดทะเบียนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด
1. สำนักทะเบียนและภาษีรถ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ได้ทุกแห่งในประเทศไทยเพราะ ออนไลน์เเล้ว
2. ทางเว็บไซต์ต่ออายุแบบออนไลน์ ยกเว้นรถที่มีอายุ 8ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ราคาค่าตรวจโดยทั่วไป 200 บาท
  Link   ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต
  Link   ตรวจสอบภาษีและภาษีค้างชำระ
  Link   ข้อมูลเส้นทางเดินรถขนส่งผู้โดยสารประจำทาง บนระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ
  Link   คู่มือการใช้งานระบบเส้นทางเดินรถโดยสาร กรุงเทพฯ-จังหวัดอื่นๆ
  Link   บริการข้อมูลกฎหมาย
  Link   ศูนย์ปฎิบัติการสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก
3. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ

ช่องทางการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

การเสียภาษีรถทั่วไทยได้ทุกสำนักงาน (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)

MotorInsurance

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
การเสียภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือเป็นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax )

สถานที่: 
ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน ๑๓ สาขา ได้แก่
  • ลาดพร้าว  รามอินทรา  รัชดาภิเษก  บางปะกอก  เพชรเกษม  สุขาภิบาล๓
  • อ่อนนุช  แจ้งวัฒนะ  สำโรง  บางบอน  สุวินทวงศ์  ศรีนครินทร์
  • บางใหญ่
วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑) รถเก๋ง
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รย.๒) รถตู้ และรถสองแถว
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓) รถปิคอัพ
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
๔. หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อ เพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)

สถานที่
  • บริเวณหน้าอาคาร ๓ ภายในกรมการขนส่งทางบก
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และนนทบุรี

วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.
ประเภทรถที่รับเสียภาษี
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน  (รย.1)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน  (รย.2)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  (รย.3)
รถจักรยานยนต์  (รย.12)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)
สถานที่: 
  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
เงื่อนไขการให้บริการรับชำระ
๑. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๗ ปี
๒. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี
๓. ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใจ ๑๐ วันนับจากวันที่ชำระเงิน
๔. ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ๒๐ บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม ๔๐ บาท
๕. รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด ๓ ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ในบาง ครั้งจะพบว่า ไม่ต้องตรวจจริงเพียงเเค่จ่ายเงินไป เขาก็จะออกใบตรวจให้ก็มี เพราะไม่มีใครรู้ หรืออาจตรวจไม่ครบตามหลักเกณฑ์ หรือ แค่ดูสภาพรถก็คร่าวๆ แต่หากมองในแง่ดีประหยัดเวลา ของเจ้าของรถ และค่าใช้จ่ายการตรวจของสถานที่ที่เราไปตรวจ แต่ข้อเสียก็คือ อาจทำให้รถยนต์ที่สภาพไม่ผ่านเกณฑ์หลุดรอดไป ซึ่งเป็นอันตรายมาก ต่อตนเองและคนรอบข้าง
สำหรับกรณี ที่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม
- กรณีมีการแจ้งเปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง ต้องมีใบเสร็จมาประกอบการแก้ไข และต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- รถติดตั้งก๊าซ LPG, NGV ใช้ใบรับรอบการตรสจ และทดสอบการติดตั้งส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถที่ใช้ก๊าซ ต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- ถ้าในเล่มทะเบียนบันทึกติดตั้งก๊าซ NGV แล้ว การต่อภาษีประจำปี ต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบการต่อภาษีด้วย
- รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบ 3 ปี ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนมาคืน และนำรถมาตรวจสถาพตอนจดทะเบียนใหม่
เงื่อนไข
1. เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
2. ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
2. ชำระค่าภาษี และรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ในปี 2553 กรมฯ จัดเก็บภาษีรถทุกประเภททั่วประเทศได้ทั้งสิ้น18,195,195,789 บาทแบ่งเป็น
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่
รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน15,435,844,054.13 บาทและ
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ได้แก่
รถบรรทุกส่วนบุคคล รถบรรทุกไม่ประจำทาง รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารไม่ประจำทางจำนวน 2,759,351,734.90 บาท
โดยมีเจ้าของรถที่มาติดต่อชำระภาษีเอง จำนวน 20,833,214 คัน หรือประมาณ 73.14%จากรถที่จดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 28,484,829 คันเท่านั้นส่วนที่ไม่มาติดต่อชำระภาษีรถเกือบ 8 ล้านคันคิดเป็นภาษีค้างชำระประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามากโขทีเดียว
ทำไมถึงมากมายขนาดนั้นการที่เจ้าของรถไม่มาติดต่อชำระภาษีรถอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น รถชำรุดหรือสูญหาย แล้วเจ้าของรถไม่ได้มาติดต่อขอแจ้งหยุดใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ ซึ่งนอกจากจะต้องชำระภาษีรถที่ค้างแล้ว หากปล่อยให้รถค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที
ในส่วนที่เจ้าของรถได้ขายรถให้ผู้อื่นไป โดยเซ็นเอกสารให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์เอง หรือที่เรียกว่า “การโอนลอย” หากผู้ซื้อไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และปล่อยให้รถค้างชำระภาษี เจ้าของรถคนเดิมจะต้องชำระภาษีรถที่ค้าง เนื่องจากยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถอยู่
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายควรไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยทันทีที่มีการซื้อ ขาย และการโอนกรรมสิทธิ์รถใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 วัน สำหรับรถที่ไม่ค้างชำระภาษี หรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี สามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง เช่น บริการ “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) “ช็อปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) ชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดจนการออกหน่วยเคลื่อนที่รับชำระภาษีด้วยรถโมบาย
โดยรถเก๋ง รถตู้ รถปิกอัพ และรถจักรยานยนต์ สามารถชำระภาษีรถได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนวันสิ้นอายุภาษี เจ้าของรถจึงควรตรวจสอบวันสิ้นอายุภาษีและต่ออายุให้เรียบร้อย ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีกับสถาน ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ต้องนำรถเข้ารับการตรวจระบบห้ามล้อ และระบบบังคับเลี้ยวกับ ตรอ.ที่ติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางหนึ่งด้วย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คอลเซ็นเตอร์ 1584
จากการลงพื้นที่สอบถามเจ้าของรถที่ไม่ยอมต่อภาษี ได้ข้อมูลมาตรงกันว่าไม่ไปเสียภาษีก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นตำรวจก็ไม่ได้ตรวจว่าจ่ายภาษีประจำปีหรือไม่? ตรวจแต่ใบขับขี่ และพ.ร.บ. แน่นอนล่ะ การที่เจ้าของรถที่ไม่ต่อภาษี ทำให้รัฐสูญเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อย สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้อีกมาก แต่ที่ข้องใจคือเมื่อรู้ว่าสาเหตุที่รถไม่ต่อทะเบียนเพราะอะไร แล้วทำไมไม่เข้มงวด หรือไม่เร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล แต่กลับปล่อยปละละเลย ทำให้ประเทศชาติได้รับการสูญเสียเป็นดินพอกหางหมู!
เมื่อไม่นานมานี้ ทางกรมฯ ได้ประกาศออกสื่อทีวี ว่า บุคคลที่ไม่ได้อายุภาษีรถยนต์ มากกว่า5 ปี สามารถมาต่อภาษีได้ โดยไม่เสียค่าปรับ แถมยังมีส่วนลดให้อีก
มาคิดดูแบบนี้ ในแง่ของกรมฯ ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ในแง่ของเจ้าของรถก็ได้ส่วนลดไป
ไม่ได้ต่อทะเบียนรถมา3ปีต้องทำอย่างไร?
ถ้ารถไม่ได้ใช้งานหรือนำออกมาวิ่งบนท้องถนนหลวง  ไม่ต้องทำอะไร
แต่ต้องการนำมาใช้วิ่งบบถนนหลวง ต้องต่อทะเบียนก่อน  นำรถไปตรวจสภาพที่ขนส่ง และเสียค่าปรับตอนเสียภาษี   คิดจากจำนวนเงินที่ค้างต่อปี  บวกดอกเบี้ย ร้อยละบาท ต่อเดือน
ปกติถ้าไม่ต่อทะเบียนครบ 3 ปี   ทางขนส่งจะยกเลิกเลขทะเบียนรถ ตรวจสอบก่อนว่าทางขนส่งได้ส่งจดหมายยกเลิกทะเบียนแล้วหรือยัง
หากไม่ชำระภาษีเกินสามปี ทะเบียนระงับ ให้ยื่นจดใหม่
เพิ่มเติม
- รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ยื่นชำระทาง internet สะดวกมาก
1.ลงทะเบียนผ่านเว็บขนส่ง www.dlte-serv.in.th รับรหัสผ่าน และทำรายการชำระภาษี
2.หากมี พรบ อยู่แล้วให้กรอกเลย หากไม่มีสามารถ คลิ๊กซื้อ พรบ.ด้วยได้เลยค่ะ
3.กรอกข้อมูลต่างๆ แล้ว print ใบชำระเงิน ไปชำระยังจุดรับชำระ เช่นธนาคาร ATM ฯลฯ หรือเลือกให้หักบัญชีธนาคาร/บัตร ก็สะดวกดีค่ะ
4.รอรับป้ายใหม่ 3-4 วันทำการ จะส่งมาทางไปรษณีย์ถึงบ้านเลย ( ค่าส่ง 40.-)
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี >> อย่าลืมตรวจสภาพรถ แล้วนำไปชำระที่บิ๊กซี
1.ตรวจสภาพรถ อู่ที่มีเครื่องหมาย ตรอ.โดยนำ พรบ.(หากไม่มีก็ซื้อที่อู่ได้) + สำเนาทะเบียนรถ ค่าตรวจไม่เกิน 200.-
2.นำเอกสารจาก ตรอ.+พรบ+สำเนาทะเบียนรถ ไปยื่นชำระภาษีที่บิ๊กซี ในวัน เสาร์-อาทิตย์ พร้อมรับป้ายวงกลมกลับมาได้เลย
สำหรับ รถที่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าไม่สะดวกทาง internet หรืออยากได้รับป้ายวงกลมทันที ก็สามารถนำ สำเนาทะเบียนรถ + พรบ ไปชำระที่บิ๊กซีได้เช่นกัน
ประหยัดกว่าให้ finance ทำให้ พอจะได้ค่าเหล้าเพิ่มนิดหน่อย ^^!/
เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปรึกษาว่า
นาย ก.ใช้รถจักรยานยนต์ที่ขาดต่อทะเบียนเป็นเวลา 2 ปี
ขณะขับขี่มีคู่มือการจดทะเบียนรถติดตัวทุกครั้ง สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้ง สภาพรถมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน จัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เรียบร้อย แต่ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งในความผิดใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯ และไม่มีใบขับขี่ นายก.ก็ไม่นำพา ไม่เคยไปเสียค่าปรับ ได้ทำเรื่องอายัดการจดทะเบียนรถไปยังขนส่งจังหวัดก็ไม่มีผล เพราะนายก.ไม่ไปจดต่อทะเบียน และไม่ยอมไปทำใบขับขี่
ถามว่า จะดำเนินการกับคนอย่างนี้ได้อย่างไร ปัจจุบันนายก.ก็ยังขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านป้อมจราจรทุกวัน (ลอยหน้าลอยตา)
ทำตามขั้นตอนง่ายๆ
1.เกินระยะเวลา 15 วันไม่มาชำระค่าปรับ ก็ดำเนินคดีต่อไป
2.เรียกจราจรที่ออกใบสั่งมาสอบสวนในฐานะผู้กล่าวหา และ สอบจราจรอื่นหรือคนอื่นที่พบเห็นเหตุการณ์ขณะกระทำผิดเป็นพยาน
3.ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้มาพบ ถ้าไม่มาก็ขอให้ศาลออกหมายจับ
4.สรุปสำนวนมีความเห็นตามรูปคดี
๑.อำนาจของเจ้าพนักงานจราจรที่จะออกใบสั่งให้กับผู้ ขับขี่รถ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจร ฯ มาตรา ๑๔๐(ออกใบสั่งได้เฉพาะความผิดที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้น)
๒.ความผิดฐานใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา ๖ ,๔๒ ,๖๐,๖๔ (ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานออกใบสั่งให้กับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ)
ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพบนาย ก.ขับขี่รถที่ไม่ได้จดต่อทะเบียน และขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ต้องจับกุมตัวนาย ก.พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาให้นาย ก.ทราบและบันทึกการจับกุมไว้ นำตัวนาย ก.ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย
การออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่รถให้ดู ด้วยว่าฐานความผิดที่จะออกใบสั่งมีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่(ต้องผิดเฉพาะ พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้นที่ออกใบสั่งได้)
ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับรถออกใบสั่งได้ตาม142แต่ข้อหาไม่มีใบขับขี่ขณะขับรถwไม่สามารถออกใบสั่งได้ เพราะการออกใบสั่งกรณีขับรถจะต้องยึดเอาใบขับขี่มาด้วย เมื่อไม่มีใบขับขี่ก็ออกใบสั่งไม่ได้ กรณีนี้จึงต้องใช้วิธีทำบันทึกการจับกุมรวมสองข้อหา และ อาศัยวิ.อาญา 85 ผู้จับมีอำนาจยึดสิ่งของ ก็ยึดรถที่ขับอยู่เป็นของกลางส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีไปด้วย รถแม้จะไม่ได้ใช้ทำผิด ไม่ได้มีไว้เป็นความผิด แต่ยึดไปเป็นของกลางเพื่อพิสูจน์ความผิดทำได้ เสร็จคดีแล้วก็คืนไป
แต่กรณีนี้ ที่บอกว่ารถมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ตำรวจผู้จับไม่ใช่ช่างผู้ชำนาญการตรวจสภาพของกรมการขนส่งทางบกผู้มีหน้าที่ ในเรื่องนี้ เมื่อจับส่งร้อยเวรแล้ว ก็ให้ร้อยเวรส่งรถของกลางไปให้นายทะเบียนขนส่งท้องที่ออกป้ายทะเบียน ตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับสภาพความมั่นคงแข็งแรงของรถ ตาม พรบ.รถยนต์ ม. 12 ถ้าไม่มั่นคงแข็งแรงนายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ และ รถของกลางไม่เสียภาษีประจำปี นายทะเบียนมีอำนาจ ตาม ม.35 แจ้งให้ไปชำระ ฝ่าฝืนนายทะเบียนมีอำนาจยึดรถนั้นไว้ได้
สรุปก็คือใช้อำนาจของ การจับตาม วิ.อาญา อำนาจของพงสฯ และอำนาจของนายทะเบียน
การใช้รถยนต์ จยย.บนถนน กฎหมายให้จดทะเบียนเสียภาษีทุกปี เรียกว่าเสียกันปีต่อปี ปีใดไม่เสีย และคดีขาดอายุความแล้ว ทำอะไรไม่ได้เพราะดคีดังกล่าวเลิกกันไปแล้ว แต่ในปีปัจจุบัน ถ้ายังไม่ได้ไปจดทะเบียนเสียภาษี ปีนั้นยังดำเนินการได้ ปรับก็ไม่ยอม คนแบบนี้ต้องส่งเรื่องไปฟ้องศาลเลย เมื่อกฎหมายให้ทำได้แค่ไหน ก็ทำแค่นั้น ไม่ต้องไปคิดมาก
ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.รถ ยนต์ 2552
มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
บทลงโทษ มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ หรือมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๓๒ เจ้าของรถมีหน้าที่เสียภาษีประจำปี
ภาษีประจำปีให้เสียล่วงหน้าคราวละหนึ่งปี ถ้ามิได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าของรถนั้นชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี
รถที่ได้เสียภาษีประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีในปีนั้นอีก
ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)

ลำดับ
ข้อหาหรือฐานความผิด
อัตราโทษ
1
ใช้รถไม่จดทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2
ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนดปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3
ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีปรับไม่เกิน 2,000 บาท
4
ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
5
ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
6
เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
7
เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
8
ขับ รถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
9
ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10
ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
11
ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันทีปรับไม่เกิน 1,000 บาท
12
ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
13
รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
14
ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถปรับไม่เกิน 2,000 บาท
15
ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่งปรับไม่เกิน 1,000 บาท
รถที่ขาดต่อภาษี ตร.เจอจับปรับ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ม.6 ได้ทุกครั้งที่พบ ไปจนกว่าจะต่อภาษีให้เรียบร้อย ส่วนที่ขนส่งจะให้เราเสียเพิ่มตามอัตรา กฏหมายกำหนด มันคนละเรื่องกัน
โดยหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาแล้วจะยึดหลัก “ไม่มีบุคคลใดเดือดร้อนซ้ำสองจากการกระทำเพียงครั้งเดียว” เมื่อคุณถูกลงโทษแล้ว คุณจะไม่ถูกลงโทษซ้ำอีก กรณีของค่าปรับ กับ เงินเพิ่ม มิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนให้คุณเดือดร้อนถึงสองครั้ง แต่ค่าปรับและเงินเพิ่มมีความแตกต่างกันดังนี้
ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา มีเจ้าพนักงานที่รักษาการตามพรบ.นั้นๆ(ในที่นี้คือพรบ.รถยนต์) เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ หรือหากไม่ยอมปรับคุณก็ต้องไปขึ้นศาลชำระความกัน วัตถุประสงค์ของเรื่องนี้คือ การลงโทษ ให้หลาบจำ
เงินเพิ่ม มิใช่โทษทางอาญา วัตถุประสงค์ของเงินเพิ่มนั้นมิได้อยู่ที่การลงโทษ แต่เป็นเรื่องของค่าเสียโอกาสที่รัฐจะได้รับเงินในเวลาที่กำหนด(ในที่นี้คือกำหนดเวลาต่อทะเบียน) สมมติตัวอย่างนี้ครับ หากรัฐไม่ได้เงินภาษีของคุณ รัฐก็จะต้องไปกู้เงินแหล่งอื่นนำมาใช้จ่าย ซึ่งรัฐต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่ครบกำหนดระยะเวลาชำระภาษีถึงระยะเวลาที่คุณชำระภาษีเสร็จ ดอกเบี้ยส่วนนี้เอง ที่รัฐขอเก็บเพิ่มจากคุณในรูปแบบเงินเพิ่ม
อัตราค่าปรับ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร300 บาท
  ฝ่าฝืนสัญญาณมือ300 บาท
  ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย200 บาท
  ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร400 บาท
  ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว400 บาท
  แซงรถในที่คับขัน400 บาท
  เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม400 บาท
  กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก400 บาท
  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย200 บาท
  จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม200 บาท
  จอดรถซ้อนคัน200 บาท
  ไม่สวมหมวกนิรภัย200 บาท
  ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า200 บาท
  ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร)200 บาท
  เดินรถผิดช่องทางเดินรถ400 บาท
  จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย400 บาท
  ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย400 บาท
อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี1,000 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน   200 บาท
  อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสภาพรถ1,000 บาท
  ขาดต่อภาษีประจำปี   200 บาท
  ไม่มีใบอนุญาติขับขี่   200 บาท
  ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน   200 บาท
  ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้   200 บาท
  ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน1,000 บาท
  ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง
    200 บาท
  ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน    200 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี    200 บาท
  ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย1,000 บาท
  ท่อไอเสียเสียงดัง1,000 บาท

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 
 
Motor Insurance


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

BKI กรุงเทพประกันภัย เปิดตัวไอทีติดตามรถ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

BKI กรุงเทพประกันภัย เปิดตัวไอทีติดตามรถ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
BKI กรุงเทพประกันภัย เปิดตัวไอทีติดตามรถ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

นายอภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI เปิดเผยว่า บริษัทได้วางเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในปีนี้เติบโตเพิ่มขึ้น 14.4% จากปีที่ผ่านมา ประมาณ 7,000 ล้านบาท เป็น 8,000 ล้านบาท สาเหตุจากด้านราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับลดลงส่งผลให้มีผู้ใช้รถยนต์มากขึ้น ปีนี้บริษัทจึงเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ลูกค้าประกันภัยรถยนต์ที่มีการเติบโตมากที่สุด

ดังนั้น บริษัทเตรียมดำเนินโครงการ "BKI Insurance Telematics" โดยนำเทคโนโลยี เทเลเมติกส์ (Telematics) ซึ่งเป็นระบบที่นำมาใช้ในการวัดผลพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ โดยมีอุปกรณ์ ดอนเกิ้ล (Dongle) ติดตั้งที่ตัวรถใต้คอนโซลคนขับ สามารถวัดแรงกระแทกของรถ ตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ของลูกค้าแต่ละราย เช่นความเร็ว การเบรกกะทันหันจากนั้นจะส่งข้อมูลไปยังแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของลูกค้า รวมทั้งฐานข้อมูลข้อบริษัท ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่และช่วยให้บริษัทประเมินระดับความเสี่ยงภัย มีผลต่อการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกับลูกค้าแต่ละราย
MotorInsurance

ทั้งนี้ หากทั้งปีลูกค้ามีพฤติกรรมการขับขี่ดีและใช้งานน้อย บริษัทจะให้บัตรของขวัญ หรือลดราคากรมธรรม์ในปีถัดไป แต่หากพฤติกรรมไม่ดีจะเพิ่มค่ากรมธรรม์ในปีถัดไป เครื่องมือดังกล่าวสามารถติดตั้งในรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2533 ทั้งนี้ หากลูกค้าไม่ต่อกรมธรรม์ ต้องคืนอุปกรณ์ภายใน 14 วัน อุปกรณ์ดังกล่าวบริษัทใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 บาทต่อเครื่อง หรือ 18% ของเบี้ยเฉลี่ยรวมของบริษัท ที่มีค่ากรมธรรม์เฉลี่ย 1.7 หมื่นบาทต่อเล่ม เริ่มแรกจะเริ่มนำเข้าอุปกรณ์ประมาณ 1 หมื่นเครื่อง ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารถยนต์ ทั้งสิ้น 3.8 แสนคัน เป็นลูกค้าในบริษัทขนส่ง 4 หมื่นคัน

"เริ่มแรกเราจะนำเข้ามาประมาณหมื่นตัว ซึ่งจะมีต้นทุนประมาณตัวละ 3 พันกว่าบาท และบริษัทน่าจะเป็นเจ้าแรกในไทยที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ โดยคาดว่าจะสามารถลดอัตรา Loss ratio ได้อีกประมาณ 10-15% อย่างไรก็ตามจะติดปัญหากับรถยนต์บางยี่ห้อซึ่งหากมีการปรับแต่งแล้วมีผลต่อตัวเครื่องก็อาจกระทบการการันตี แต่เท่าที่ดูมาไม่น่าจะมีผลต่อเครื่องยนต์ เพราะในต่างประเทศมีการนำมาใช้นานแล้ว แต่ถ้ามีการพิสูจน์แล้วช่างเครื่องบอกว่ามีผลเสียต่อเครื่องยนต์จริงทางบริษัทก็พร้อมรับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ที่มา: http://www.asnbroker.co.th

Motor Insurance

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์หมายถึง #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์หมายถึง #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์หมายถึง #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยรถยนต์ กระทรวงการคลัง
ความหมายการประกันภัยรถยนต์มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้
การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งในที่นี้ซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย”ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไปให้บุคคลไปให้ อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทนโดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยนั้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” เมื่อผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยแล้วหากรถยนต์คัน ที่เอาประกันภัยไว้ได้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์หรือแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลทั้งภายนอกและที่โดยสารอยู่ในรถยนต์คันนั้นผู้ เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เท่ากับจำนวน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ ซึ่งเงินจำนวนเงินที่ตกลงทำสัญญาไว้ เรียกว่า“จำนวนเงินเอาประกันภัย” (หนังสือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )
หรือ การประกันภัยรถยนต์ หมายถึงการ ประกันภัยรถยนต์ เพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถ ยนต์ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคลรถ บรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วยโดยบริษัท ประกันภัยรถยนต์ หรือผู้รับประกันภัยจะ ออกหนังสือให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย ” หรือหลักฐานของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุว่าบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยแต่ละรายก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตามอัตราความเสี่ยงของตน
ความรู้เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์
MotorInsurance
1.ความเสียหายต่อรถยนต์
ความคุ้มครอง
รถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการชน เจตนาร้าย (ถูกราดด้วยน้ำมันเบรก ถูกขูดขีด) ภัยธรรมชาติต่าง ๆ (น้ำท่วม) อุบัติเหตุ (ถูกหินกระเด็นใส่กระจกแตก) จลาจล นัดหยุดงาน ก่อการร้ายยกเว้นภัยไฟไหม้
การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์
-การเสื่อมราคา หรือการสึกหรอของรถยนต์
-การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสีย หรือหยุดเดิน ของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์ อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ
-ความเสียหายโดยตรงต่อรถยนต์อันเกิดจากการบรรทุกน้ำหนัก หรือจำนวนผู้โดยสารเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ
-ความเสียหายต่อยางรถยนต์ อันเกิดจากการฉีกขาดหรือระเบิด เว้นแต่กรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อส่วนอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน
-ความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์เว้นแต่บริษัทประกันภัยรถยนต์ประวิงการจ่ายหรือ ล่าช้าโดยไม่มีเหตุผล
2.การคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้
ความคุ้มครอง
รถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ที่เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป “สูญหาย” รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำกับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำเช่นว่านั้น (คุ้มครองถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขโมยด้วย) “ไฟไหม้” ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมัน เอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
ยกเว้น
- ความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์โดยบุคคล ได้รับมอบหมายหรือครอบครองตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น
- การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตประเทศไทย

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th

Motor Insurance

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

รถเสียหายอย่างไรถึงจะจ่ายเต็มทุน #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

รถเสียหายอย่างไรถึงจะจ่ายเต็มทุน #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
รถเสียหายอย่างไรถึงจะจ่ายเต็มทุน #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

คยไหม!? ขับรถมาหลายปี ขับได้ดีไม่มีปัญหา อยู่มาวันหนึ่งก็มีรถมาเสยท้ายอย่างหนัก ความเสียหายที่ได้รับ
จะได้รับการชดเชยได้อย่างไร แล้วแบบไหนที่เรียกว่าซ่อมได้ ซ่อมไม่ได้ เรามาไขข้อข้องใจกัน
เมื่อรถเกิดประสบอุบัติเหตุและมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. รถได้รับความเสียหายบางส่วน ซึ่งไม่ดท่ากับเสียหายทั้งคันหรือมีความเสียหายน้อยกว่า 70% ของมูลค่ารถยนต์ในขณะนั้นคือรถยนต์ที่เสียหายแต่สามารถซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ ซึ่งบริษัทรับประกันและผู้เอาประกันอาจตกลงกันว่าจะมีการซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่หรือรถยนต์ ซึ่งมีสภาพเดียวกันแทนได้ หรือจะชดใช้เป็นเงินเพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น หากกรณีต้องสั่งอะไหล่จากต่างประเทศ บริษัทประกันภัยก็จะชดใช้ตามมูลค่า และไม่เกินกว่าราคานำเข้าที่ขนส่งมาทางเรือให้
  2. รถยนต์เสียหายโดยสิ้นเชิง ใยที่นี้หมายถึง รถยนต์ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมให้กลับมาในสภาพเดิมได้ หรือถ้าซ่อม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมเกิน 70% ของมูลค่ารถในขณะนั้น เรียกว่า มีความเสียหายเกิน 70 %  โดยทั่วไปมักเรียกว่าซากรถ ซึ่งบริษัทประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใก้ผู้เอาประกัน หรือเจ้าของรถเต็มจำนวนเงินที่เอาประกันที่ระบุไว้ในกรรมธรรม์ประกันภัย
ประกันภัยรถยนต์
         สำหรับกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ยังมีภาระในการผ่อนรถยนต์คันดังกล่าวกับลิสซื่ง/ไฟแนนซ์อยู่ สังเกตได้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะระบุผู้รับประโยชน์เป็นชื่อของบริษัทลิสซิ่ง หรือ ไฟแนนซ์ ดังนั้นเงินที่เอาประกันจะเป็นของลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์นั่นเอง แต่สำหรับผู้เอาประกันที่ได้ผ่อนชำระค่างวดไปแล้ว ต้องติดต่อกับลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ สำหรับเงินที่เหลือหรือส่วนต่างของทั้งสองฝ่าย
และหากรถยนต์ลูกค้าที่รับความเสียหายได้ทำประกันภัยไว้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ขอมูลค่ารถยนต์ในขณะที่เอาและประกันภัยและผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้รับสินไหมทดแทนเต็มจำนวนทุนประกันภัยไปแล้ว จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในการครอบครองหรือเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวให้กับบริษัทประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการโอน ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอื่นๆทั้งหมด 
ประกันภัยรถยนต์
สำหรับในการเคลมประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ทั้งเอกสารใบอนุญาตการขับขี่รถยนต์ บัตรประชาชน เอกสารการแสดงสิทธิ์การเป็นเจ้าของรถยนต์ ตามที่บริษัทประกันได้แจ้งไว้ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการซ่อม หรือรับค่าสินไหมทดแทน และที่สำคัญ อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องของความบังเอิญ แต่อาจจะเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งบ้างครั้งเราไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถทำให้ความเสียหายนั้นบรรเทาลงได้ด้วยการทำประกันภัยคุ้มครอง

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th

Motor Insurance

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ไขรหัสทำไมต้องทำประกันภัยรถยนต์ !! #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ไขรหัสทำไมต้องทำประกันภัยรถยนต์ !! #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
ไขรหัสทำไมต้องทำประกันภัยรถยนต์ !! #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

อุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นโรคร้ายที่สามารถป้องกัน และบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท และทำการประกันภัย ที่นี่ก็มาเข้าเรื่องของเรานะครับ ประกันภัยรถยนต์กับคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ควรทำประกันภัยรถยนต์อย่างไร ?

ในเบื้องต้นที่จะแนะนำ คือ "คนรุ่นใหม่ต้องทำประกันภัยอย่างคนฉลาด" กล่าวคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ใน 10 ประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้
  1. ทำไมต้องทำประกันภัย
  2. ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภทกี่แบบ แต่ละประเภท มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
  3. ทำประหยัดเบี้ยประกันภัยได้อย่างไร
  4. จะประกันภัยบริษัทไหนดี
  5. เกิดอุบัติเหตุจะต้องทำอย่างไร
  6. ค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมคิดจากอะไร
  7. เข้าอู่ซ่อมที่ไหนไม่ถูกหลอก (ถูกโกง)
  8. ตัวแทน-นายหน้าเป็นใคร
  9. บริษัทเซอร์เวย์ทำหน้าที่อะไร
  10. กรมการประกันภัยช่วยอะไรได้บ้าง
ในแต่ละประเด็นจะได้แนะนำให้รู้รายละเอียดในฉบับต่อๆ ไป ก็ขอให้ติดตามอย่างต่อเนื่องนะครับ สำหรับฉบับนี้จะได้เกรินนำเบื้องต้นก่อน ประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ภาค คือ ภาคบังคับ กับ ภาคสมัครใจ
  1. ประกันภัยภาคบังคับ ได้แก่ การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี 2535 หรือที่เราเรียกกันติดปากและเป็นที่เข้าใจกันว่า "ประกันภัยตาม พรบ."
  2. ประกันภัยภาคสมัครใจ ได้แก่ ประกันภัยที่เจ้าของรถสมัครใจทำประกันเพิ่มจากภาคสมัครใจ (พรบ.) ซึ่งสามารถเลือกทำประกันภัยได้หลายประเภท (ประเภท 1, 2, 3, 4 )
ทำไมต้องทำประกันภัยตาม พรบ.
วัตถุประสงค์สำคัญที่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
  • เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที่กรณีบาดเจ็บหรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
  • เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
  • เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
MotorInsurance
กฎหมายบังคับใครบ้างที่ต้องทำประกันตาม พรบ. ถ้าฝ่าฝื่นจะถูกลงโทษอย่างไร ?
  1. ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถและผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
  2. ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยรถ พรบ. ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้นรวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทั่วประเทศ บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พรบ. คุ้มครอง ฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000-250,000 บาท
รถประเภทใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พรบ.
มีรถ 4 กลุ่ม ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเนื่องจากมีองค์กรหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอยู่แล้ว (รถคันใดหรือหน่วยงานใดจะทำประกันภัยตาม พรบ. เช่นเดียวกับรถของเอกนทั่วไปก็ได้)
  • กลุ่มแรก คือ รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • กลุ่มที่สอง คือ รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
  • กลุ่มที่สาม คือ รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ รถยนต์ทหาร
  • กลุ่มที่สี่ คือ รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th

Motor Insurance

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ความปลอดภัยของเด็กในรถต่อ ประกันรถยนต์ : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

ความปลอดภัยของเด็กในรถต่อประกันรถยนต์ : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
ความปลอดภัยของเด็กในรถต่อ ประกันรถยนต์ : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันไม่มีใครสามารถทราบได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นในตอนไหน ทางที่ดีเราควรหาทางป้องกันไว้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมการขับขี่ของคนอื่นได้แต่เราสามารถควบคุมการขับขี่ของตัวเราเองได้ให้มีความระมัดระวังไม่ประมาท แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรหา ประกันภัย รถ ยนต์ดีๆ ที่ให้ความคุ้มครองแก่ความเสียหาย เพื่อจะได้สร้างความอุ่นใจเวลาขับขี่บนท้องถนน รวมไปถึงสร้างความอุ่นใจให้กับคนรอบข้างว่าอย่างน้อยรถก็ทำประกันภัยรถยนต์ไว้หากเกิดอุบัติเหตุ ก็ยังมีประกันภัยรถยนต์ให้ความคุ้มครอง และยิ่งเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกตัวน้อยนั่งไปด้วยยิ่งต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษและขับรถด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

ครอบครัวที่มีเด็กเล็กๆนั่งไปด้วยควรต้องระมัดระวังด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ โดยให้ผู้ใหญ่อุ้มไว้หรือมีผู้ใหญ่ดูแลอย่างใกล้ชิด หากเกิดการเบรคกะทันหันผู้ใหญ่จะได้จับตัวเด็กไว้ได้ทัน เพราะหากจับไว้ไม่ทันเด็กอาจจะล้มลงและหัวไปกระแทกส่วนใดส่วนหนึ่งของรถยนต์ก็เป็นได้ ทางที่ดีเราควรหาทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของเด็กด้วยการซื้อคาร์ซีทมาให้เด็กนั่ง
64
ครอบครัวที่มีรถยนต์ และมีลูกเล็ก ๆ ควรฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อความปลอดภัยของเด็กหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ถึงแม้ว่าคาร์ซีทจะมีราคาค่อนข้างแพง และมั่นใจว่าคุณพ่อหรือคุณแม่นั้นขับรถอย่างปลอดภัยแล้วก็ตาม แต่อุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งในขณะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันได้ปกป้องลูกเลยด้วยซ้ำ คาร์ซีทมีประโยชน์ช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ และลดการบาดเจ็บของร่างกายลูกได้ หากเราทำการติดตั้งอย่างถูกวิธี สายรัดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่รัดคอลูกให้อึดอัดและไม่หลวมเกินไป จนเด็กหลุดออกจากคาร์ซีท ไปกับกระแทกกับส่วนต่าง ๆ ของรถ หรือหลุดออกนอกตัวรถ จุดเหมาะที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการติดตั้งคาร์ซีท ควรจะเป็นกึ่งกลาง ของเบาะหลัง หรือบริเวณใกล้เคียงตรงกลางรถยนต์ให้มากที่สุด เพราะช่วยลดการกระแทกที่เข้ามาด้านข้างรถยนต์ได้
Motor Insurance
แต่ทางที่ดีที่สุด เราควรทำทั้งประกันภัยรถยนต์และมีคาร์ซีทให้เด็กนั่งจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างครอบคลุม เพราะเราไม่สามารถรับประกันได้ว่าคาร์ซีทจะสามารถรักษาความปลอดภัยให้เด็กได้ตลอดการเดินทาง เพราะคาร์ซีทเป็นการป้องกันภัยให้เด็กแค่ในตัวรถ ไม่ได้เป็นเครื่องหมายรับประกันว่าการเดินทางจะปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามเราควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท เพราะ หากเรามีประกันภัยที่ดีมากเพียงใดให้ความคุ้มครองทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเพียงแค่ทำประกันภัยรถยนต์แล้วจะปลอดภัย การทำประกันภัยนั้นเป็นเพียงการสร้างความอุ่นใจว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วจะมีคนให้ความคุ้มครองรวมถึงรับผิดชอบค่าเสียหาย และถึงแม้จะมีคาร์ซีทที่มีคุณภาพที่ดีเยี่ยม ราคาแพง ก็ไม่ได้เป็นสิ่งรับรองความปลอดภัยของเด็ก เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ควรมีผู้ใหญ่คอยดูแลความปลอดภัยของเด็กอยู่ข้างๆ แต่ทางที่ดีที่สุดเราควรป้องกันให้ไม่เกิดอุบัติเหตุเลยจะดีที่สุด

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=576 

Motor Insurance

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

โปรโมชั่น Honda City 2014 ผ่อน 4,065 บาท ฟรีประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

โปรโมชั่น Honda City 2014 ผ่อน 4,065 บาท ฟรีประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
โปรโมชั่น Honda City 2014 ผ่อน 4,065 บาท ฟรีประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

โปรโมชั่นรถยนต์ Honda City 2014 แบบ Happy ด้วยข้อเสนอพิเศษที่เหมาะสำหรับท่านที่ชอบดอกเบี้ยต่ำพร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่ง หรือ ผ่อนเบาๆ ก็ได้ทั้งนั้น ภายใน 31 มกราคม 2558
ปลายปีแล้วข่าวการเปิดตัวรถใหม่แห่กันมาเป็นขบวนยาวเหยียด ทางด้านโปรโมชั่นรถดีๆ ก็มีมาให้เลือกแบบไม่ขาดสาย จากบทความก่อนที่เราได้นำเสนอเกี่ยวกับโปรโมชั่นรถยนต์ในรุ่นของ Honda Jazz 2014 กันไปเรียบร้อยแล้ว ก็นึกว่าขึ้นได้ว่าแฟนคลับของ ฮอนด้า ซิตี้ ก็คงจะน้อยใจ แต่ว่าบังเอิญผู้เขียนได้มองไปเห็นโปรโมชั่นของ Honda City ก็เลยได้โอกาศนำมาเผยแพร่ให้แฟนคลับและท่านผู้อ่านได้ติดตามกัน และสำหรับเดือนนี้มีอะไรที่พิเศษๆ มาให้ได้เลือกจับจองกันแบบโดนใจ จะผ่อนน้อยก็สบายใจหรือจะเลือกดอกเบี้ยต่ำยิ่งโล่งอก
ถ้าหากว่าท่านใดมีแผนว่าอยากจะออกรถใหม่อย่าง ฮอนด้า ซิตี้ อยู่พอดีแล้วล่ะก็คงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อย เพราะว่ารถรุ่นนี้มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะขับขี่อยู่บนท้องถนนแบบใดก็ทำให้อบอุ่นใจอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าก่อนที่จะไปออกรถนั้นเรามาดูข้อเสนอพิเศษที่ทางฮอนด้าเพิ่งได้ปล่อยออกมาใหม่ๆ ในแต่ละเดือน และเดือนนี้ก็จัดหนักด้วยโปรโมชั่นแรงๆ เหมือนเดิม ดังต่อไปนี้ครับ

โปรโมชั่น Honda City 2014

พิเศษสำหรับท่านที่ออกรถภายใน 31 มกราคม 2558 นี้
ข้อเสนอที่ 1 รับดอกเบี้ยต่ำโดนใจ เพียง 0.69% นาน 48 เดือน เพียงดาวน์ที่ 30% พร้อมรับฟรีประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่ง หรือ
ข้อเสนอที่ 2 ฮอนด้า สไมล์เพย์ จัดให้ท่านได้ผ่อนเบาๆ สบายๆ เริ่มต้นเพียงแค่เดือนละ 4,065 บาท ผ่อน 60 เดือน เมื่อท่านดาวน์ที่ 30% โดยเป็นการคำนวนค่างวดจากรุ่น S MT ราคา 550,000 บาท หรือ
ดูราคาทั้งหมดทุกรุ่นของ ฮอนด้า ซิตี้ 2014 และตารางราคาผ่อน-ดาวน์ สำหรับโปรโมชั่นนี้
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 S MT ราคา 550,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 S AT ราคา 589,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 V ราคา 649,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 V+ ราคา 689,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 SV ราคา 734,000 บาท
ฮอนด้า ซิตี้ 2014 SV+ ราคา 749,000 บาท

















































































































ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 
Motor Insurance

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

เมื่อ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ต้องทำอย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

เมื่อ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ต้องทำอย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
เมื่อ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ต้องทำอย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
1. ตั้งสติให้มั่น โทรศัพท์แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์พร้อมจดชื่อผู้รับแจ้ง วัน เวลาทุกครั้ง
2. ขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และทะเบียนรถคู่กรณีทุกครั้ง
3. ท่านควรใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุอาจจำเป็นต้องโทรศัพท์หาท่านเพื่อสอบถามราย ละเอียดเส้นทางจากท่าน
4. ถ้าลักษณะอุบัติเหตุไม่แน่ชัด ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ ให้แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งรถทั้งสอง ฝ่ายก่อน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งแยกถึงจะเคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุ และไม่ควรยินยอมหรือทำการตกลงใด ๆ ก่อนได้รับคำยินยอมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์
5. รอพนักงานสำรวจอุบัติเหตุหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการตรวจสอบความเสีย หาย ณ ที่เกิดเหตุ และพนักงานของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะออกหลักฐานการ จัดซ่อมให้ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรับแจ้งอุบัติเหตุ โดยทุกครั้งจะได้รับเลขที่และชื่อผู้รับแจ้งเหตุเพื่อไว้อ้างอิงในการติดต่อ คราวต่อไป หากมีผู้บาดเจ็บควรนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็ว
6. เมื่อตรวจสอบแล้วผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ความเสียหายสำหรับรถยนต์ที่เอาประกันภัยและรถยนต์ของคู่กรณี รวมถึงหากมีความบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตภายใต้ความคุ้มครองที่ซื้อไว้ หากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกบริษัทจะชดใช้ความเสียหายของรถยนต์ของผู้เอา ประกันภัยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนที่เกินผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องได้จากคู่กรณีโดยตรง
7. การซ่อมรถ ก่อนทำการซ่อมผู้เอาประกันภัยจะต้องนำรถไปให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตรวจสอบความเสียหาย พร้อมประเมินราคาก่อนซ่อม หากมีอู่ประจำสามารถให้อู่นั้นเสนอราคาพร้อมนำใบเสนอราคามาตกลงค่าซ่อมด้วย การซ่อมอู่นอก ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้สำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อบริษัทเพื่อทำการจ่ายคืนให้ ยกเว้นกรณีอู่นอกนั้นยินยอมรับค่าซ่อมจากบริษัทโดยตรง และให้นำรถมาตรวจสอบ การซ่อมทั้ง 2 กรณี

MotorInsurance-#ประกันภัยรถยนต์
กรณีเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บาดเจ็บโดยอุบัติเหตุจาก รถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เกิดเหตุ มีการประกันภัยรถยนต์หรือไม่มี ประกันภัยรถยนต์ กับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใด จำทะเบียนรถ เพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ได้ถูกต้อง

กรณีมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
1. ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ให้ทราบรายละเอียดและไม่ควรเจรจาตกลงใด ๆ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ
2. หากท่านจะต้องถูกควบคุมตัวและซื้อความคุ้มครองประกันตัวในคดีอาญา บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะนำหลักทรัพย์มาประกันตัวท่านโดยเร็ว
3. พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวหากไม่มีผู้บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาเกิน 20 วัน
4. ช่วยเหลือนำส่งผู้ประสบภัยหรือแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล
5. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม


กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหลบหนี
1. จดหมายเลขทะเบียนรถคู่กรณี และบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุไว้
2. แจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุในใบแจ้งความว่า เพื่อดำเนินคดี
3. แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ตามปกติ

ข้อมูลสำหรับแจ้ง บริษัทประกันภัยรถยนต์
ควรจัดเตรียมรายละเอียดได้แจ้งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ เพื่อมิให้เกิดความล่าช้า หรือขลุกขลัก ดังต่อไปนี้
1. ชื่อผู้เอาประกันภัย และหมายเลขกรม
ธรรม์
2. เลขทะเบียน ยี่ห้อ และสีของรถประกัน
3. ชื่อคนขับ และสาเหตุการเกิดโดยย่อ
4. สถานที่เกิดเหตุ จุดที่สังเกตุเห็นได้ชัด และจุดนัดหมาย (กรณีต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัท ประกันภัยรถยนต์ )
5. ถามชื่อผู้รับแจ้ง พร้อมเวลาที่แจ้ง

กรณีรถสูญหาย
1. รีบแจ้งให้บริษัทประกันภัยรถยนต์ทราบทันที
2. แจ้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ โทร. 0-2245-9059, 0-2245-6951
3. แจ้ง จส.100 โทร. 1137 หรือแจ้ง ร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 


MotorInsurance


วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

เคลมประกันอย่างมีเชิง ประมาทเลินเล่อประกันไม่คุ้มครองจริงหรือ : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์

เคลมประกันอย่างมีเชิง ประมาทเลินเล่อประกันไม่คุ้มครองจริงหรือ : ASN Broker ต่อประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์
เคลมประกันอย่างมีเชิง ประมาทเลินเล่อประกันไม่คุ้มครองจริงหรือ : #ประกันภัยรถยนต์  #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์

เรื่อง : สุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์

          เล่มที่ผ่านมาทิ้งท้ายไว้ว่า ต่อแต่นี้จะเน้นเอากระบวนการเคลมประกันภัยรถยนต์มาเล่าสู่กันฟัง ทั้งนี้เพื่อบรรดามือเก๋าจะได้ทบทวนความจำ ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นแนวทางให้มือใหม่ได้ศึกษาว่าจะควรทำอย่างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนและต้องเคลมประกันภัย

          โดยเฉพาะมือใหม่จากนโยบายรถยนต์คันแรกบรรดาบริษัทประกันภัยรถยนต์ต่างตาหน้าออกมาสารภาพอย่างหน้าชื่นอกดรมาว่า ทำให้สถิติการเคลมสินไหมประกันภัยพุ่งสูงขึ้นอย่างน่ากลัว จึงส่งผลให้หลายบริษัทต้องจัดกระบวนทัพรับมือผู้เอาประกันภัยกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ

          นัยว่าบางบริษัทถึงขนาดอบรมพนักงานเคลม เพื่อให้บริการบรรดามือใหม่ป้ายแดงโดยตรง โดยตั้งสมมติฐานว่าพนักงานเคลมที่ไปให้บริการนั้น ต้องแจกแจงให้ผู้เอาประกันภัยเข้าใจอย่างละเอียดยิบว่า แต่ละขั้นตอนในการเคลมประกันภัยผู้เอาประกันภัยควรทำอย่างไร

          เพราะถ้าปล่อยให้หลงทางหลงประเด็นเข้าใจผิดประการใดขึ้นมา ผู้ที่เสียหายย่อมเป็นบริษัทประกันภัย เพราะภาพลักษณะจะเสียหายย่อยยับ โดยด่ามา 3 วัน 3 คืน หรือวัดความยาวตัวอักษรได้หลายร้อยกิโลเมตร แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏสังคมได้รับรู้เพียงแค่เสี้ยววินาทีด้วยข้อความสั้น...เข้าใจผิด

          แต่อย่างว่าล่ะครับ พฤติกรรมของพนักงานเคลมที่ถูกชิพฝังหัวเอาไว้ ทำหน้าที่แค่ไปให้ถึงผู้เอาประกันภัย ณ จุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด และเก็บรายละเอียดให้มากที่สุดเท่านั้นเอง ส่วนหลังจากให้ใบเคลมต่อผู้เอาประกันภัยแล้ว ก็คงปล่อยให้ผู้เอาประกันภัยงงไปไก่ตาแตกโทรฯทวงถามบริษัทโดยตรงเอาเองว่าจะทำอย่างไรต่อ

          อย่างเช่นกรณีรถปิกอัพอเนกประสงค์ของเจ้าของรีสอร์ตแห่งหนึ่งได้ไปแจ้งเคลมเอาไว้ว่าฝาท้ายรถยนต์เสียหาย ปรากฏว่ามาเร็วเคลมเร็วอย่างที่โฆษณาเอาไว้ ถ่ายรูปจดรายละเอียดเสร็จสรรพส่งใบเคลมให้แล้วหายจ๋อยไปเลย

          ล่วงมากกว่า 3 เดือนแล้วเจ้าของรีสอร์ตรายนั้นยังงง ๆ อยู่เลยว่าจะทำอย่างไรต่อ จนเรื่องราวล่วงรู้มาถึงผมนั่นแหละจึงถึงบางอ้อว่า บริษัทประกันภัยไม่อนุมัติเคลม อ้างว่าเกิดจากความประมาทของผู้เอาประกันภัยเอง

          มาตรา 879  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในวรรคแรกบัญญัติไว้ว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้น เพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์

          การที่ฝาท้ายรถยนต์ยุบ โดยลักษณะการยุบเด้งจากด้านในไปด้านนอกอย่างนี้ ฝ่ายประเมินความเสียหายของบริษัทประกันภัย ย่อมคาดการณ์ได้ว่าต้องเกิดจากการกระทำของเจ้าของรถยนต์หรือลูกจ้างอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะทำของหนักหล่นใส่หรือบรรทุกอะไรที่หนักเกินกว่าฝาท้ายรถจะรับได้ส่วนจะถูกรถยนต์คันอื่นชนไม่น่าจะใช่ เพราะถ้ารถชนลักษณะของความเสียหาย อาการยุบจะต้องเด้งจากนอกไปด้านใน
Motor Insurance

          ซึ่งในภายหลังผู้เอาประกันภัยเจ้าของรีสอร์ตยอมรับว่าได้นำรถไปบรรทุกเสาเข็มและหล่นใส่ฝากระบะท้ายอย่างแรง

          ดังนั้นประเด็นที่จะต้องถกเถียงกันต่อไปว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเกิดจากอุบัติเหตุในการขนย้ายวัสดุ

          คุณอำนวย สุภเวทย์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายประกันภัยได้ดีความถึงความประมาทเลินเล่อไว้ว่า ความประมาทเลินเล่อนั้นมี 2 ระดับคือความประมาทเลินเล่อไม่ถึงกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงระดับหนึ่ง และความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอีกระดับหนึ่ง

          ประมาทเลินเล่อคือการกทำที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยหรือพฤติการณ์ ส่วนความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากใช้ความระมัดระวังสักเพียงเล็กน้อย เท่านั้นก็คงคาดเห็นได้ว่าอาจเกิดความเสียหายเช่นนั้นขึ้น

          ที่สำคัญมีสุภาษิตกฎหมายบทหนึ่งว่าเลินเล่ออย่างร้ายแรงมีผลมีผลเท่ากับจงใจกระทำความผิด (Gross negligent is held equivalent to intentional wrong)

          ถ้าว่าตามการดีความดังกล่าวนี้ เจ้าของรีสอร์ตที่ผมกล่าวถึงในฐานะผู้เอาประกันภัยคงต้องจ่ายค่าซ่อมเอง เพราะเข้าข่ายประมาทเลินเล่ออย่าร้ายแรง รู้ทั้งรู้ว่าการใช้รถไปขนย้ายเสาเข็มที่มีความหนักย่อมที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถยนต์อย่างแน่นอน

          แต่อย่าเพิ่ง ซ.ต.พ. นะครับ ถ้าเอาคำพิพากษาฏีกามาเทียบเคียงก็จะพบความจริงของกฎหมายข้อหนึ่งว่า ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามมาตรา 879 ต้องเกิดเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เท่านั้น

          บุคคลผู้ถือเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัย เช่น ผู้ขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัยดังเช่นในกรณีตามคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่ายยกเว้นความผิดของผู้รับประกันภัย เพราะมีสุภาษิตกฎหมายกล่าวไว้ว่า “ข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัด”
MotorInsurance

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1720/2639 มาตรา 879 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดของผู้เอาประกันภัย จึงต้องดีความโดยเคร่งครัด ตามมาตราดังกล่าว ผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิดเมื่อความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือของผู้รับประโยชน์ เท่านั้น การที่บุตรของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ วินาศภัยที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้เอาประกันภัย บริษัทจำเลย จึงไม่พ้นความรับผิด

          อ้าว! บุตรในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมันย่อมไม่แตกต่างไปกว่าลูกจ้างของเจ้าของรีสอร์ต งานนี้ทำไปทำมาบริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหม

          อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่ถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะบริษัทประกันภัยยึดหลักสุจริตใจ เชื่อว่าผู้เอาประกันภัยย่อไม่ตั้งใจให้เกิดความเสียหาย ประกอบกับค่าซ่อมไม่สูงมากนัก เอาใจลูกค้าเพื่อได้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยในปีต่อไปกันดีกว่า จึงหยวนไม่ต้องมาดีความตามตัวบทกฎหมาย

          เพียงแต่ขอความกรุณาให้ผู้เอาประกันภัยทำจดหมายขออนุโลมไม่ให้นำเอาเงื่อนไขยกเว้นมาบังคับใช้ โดยเหตุที่ต้องทำจดหมายนั้นไม่ใช่ต้องทำตามกฎหมายบังคับอะไรหรอก เพียงแต่เป็นสิ่งการันตีว่าผู้จัดการสินไหมทดแทนนั้น ๆ ได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว แต่ต้องยกเว้นให้เพราะมองประโยชน์ของการตลาดเป็นหลัก

          เรื่องของการประมาทเลินเล่อจึงเป็นสาระสำคัญประการแรกที่ผู้เอาประกันภัยจำต้องรู้เชิงเอาไว้ให้มั่น เพราะเป็นข้ออ้างยอดฮิตที่เจ้าหน้าที่สินไหมทดแทนมักจะหยิบยกมาอ้าง ไม่เบี้ยว แต่ไม่จ่ายเพราะลูกค้าประมาทเอง

          เราจึงต้องมีเชิงได้กลับเอาไว้ก่อน ฉันประมาทตรงไหน !

          เจอลูกนี้เข้ารับประกันซ่อมฟรีคงต้องเจรจากันหลายยก และในที่สุดบริษัทประกันภัยคงต้องหยวน ๆ ให้ เพราะบริษัทประกันภัยยุคนี้ยืดหลัก “ค้าขายดีกว่าค้าความ” ครับพี่น้อง !

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/

Motor Insurance



วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

การขอรับค่าเสียหาย กรณีรถประสบเหตุ จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

การขอรับค่าเสียหาย กรณีรถประสบเหตุ  จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
การขอรับค่าเสียหาย กรณีรถประสบเหตุ จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

 

การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว



ความคุ้มครองเบื้องต้นตามพ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับ แต่บริษัทได้รับคำร้องขอ ค่าเสียหาย ดังกล่าว เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงินดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน15,000บาท
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้ง แต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา)
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้ง แต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท
ค่าเสียหายเบื้องต้น
หมายถึงค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ค่ายา ค่าอาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน ค่าอวัยวะเทียม ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าห้อง และค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษา รวมถึงค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ไม่รวมค่าจ้างพยาบาลพิเศษและค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับรักษาพยาบาลนี้ ผู้ประสบภัยจะได้รับตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท


ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้
กรณีมีผู้บาดเจ็บ
1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
4. เตรียมเอกสาร
ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย
ให้เตรียมเอกสารดังนี้


1.สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
2.สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจประทับตราโล่และสำเนาถูกต้องเอกสาร
3.สำเนาคู่มือรถหน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
4.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
6.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
7.สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
อย่างละ 2 ชุด

การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้อต้นจากรถที่เกิดเหตุ(หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)

ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนโดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 15,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกประชาสัมพันธ์

ผู้ป่วยที่ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ซึม ควรเข้ารับการตรวจรักษาอย่างเร่งด่วน โดยท่านสามารถใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 โดยท่านจะได้รับค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 15,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ วันนี้ รับ Voucher ส่วนลด Carcare และกิจกรรมท่องเที่ยว

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 
Motor Insurance