วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

เบื้องหลังราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ตอน2) ? วิธีการคำนวณเบี้ยประกัน : #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

www.asnbroker.co.th
เบื้องหลังราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ตอน2) ? วิธีการคำนวณเบี้ยประกัน : #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์





การคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์จะคำนวณตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ซึ่งได้กล่าวมาแล้วจากบทความตอนที่ 1  ในที่นี้ใช้ข้อมูลจากไฟล์ ณ วันที่ 17/8/2556 มาสาธิตให้ดู มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ครับ
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตามลักษณะการใช้รถยนต์ ประเภทกรมธรรม์ และการคุ้มครองที่ต้องการ ดังนี้
  1. นำเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (ตาราง 1) x อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย (ตาราง 2  ทุกองค์ประกอบ) xอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครอง (ตาราง 3) สมมติเป็น A
  2. คำนวณเบี้ยประกัยภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่มเติม รย.01 – รย.03 (ตาราง 4) ในกรณที่ต้องการ สมมติเป็น B
  3. คำนวนเบี้ยประกันภัยรถยนต์ จะได้ = A + B – 3000 (กรณีประกันประเภท 1 ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกที่บังคับทำโดยตัวสัญญา)
สมมติเป็นได้ค่าเป็น C
ขั้นตอนที่ 2 เอา C ในขั้นตอนที่ 1 - ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ (เพิ่มเติม) สมมติได้ค่าเป็น D
ขั้นตอนที่ 3 แบ่งเป็น 2 กรณี
  • ทำประกันภัยไม่ถึง 3 คัน เอา D ในขั้นตอนที่ 2 – ส่วนลดจากประวัติดี หรือ + ส่วนเพิ่มจากประวัติเสีย
  • ทำประกันภัย 3 คันขึ้นไป เอา D ในขั้นตอนที่ 2 - ส่วนลดจากการทำประกันภัยกลุ่ม
ผลลัพธ์คือ เบี้ยประกันภัยรถยนต์สุทธิที่ต้องชำระ (ยังไม่รวมอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ตัวอย่างการคำนวณ
ความต้องการ
นายนักขับ ชอบประกัน ต้องการต่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นปีที่ 2 ตลอด 1 ปีที่ผ่านมายังไม่เคลมประกันใด ๆ ประกันภัยที่กำลังจะต่อเป็นประเภทที่ 1 ทำกับรถเก๋งขนาด 1800 cc ที่ใช้งานส่วนบุคคล และถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่4 ทั้งนี้ ได้ระบุชื่อผู้ขับเป็นชื่อตนเอง ซึ่งมีอายุ 26 ปี และน้องชายตนเอง อายุ 19 ปี ณ ตอนที่ต่อประกัน รถมีอายุ 2ปีกว่า ๆ  จึงกำหนดรายละเอียดการขอทำประกันภัยเป็นดังนี้
  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (เสียหายจากคันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000บาท
  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000 บาท
  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000 บาท
  • ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 300,000 บาท / คน และ10,000,000 บาท / ครั้ง
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.01 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะข้อ 1 – 3 สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 6 คน จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท / คน
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.02 การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 7 คน จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท / คน
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.03 การประกันตัวผู้ขับขี่ จำนวนเงินเอาประกัน 100,000 บาท
  • ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 5,000 บาท (โดยสัญญาบังคับ 3,000 บาท ดังนั้นจะมีค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ 2,000 บาท) สำหรับทรัพย์บุคคลภายนอก5,000 บาท
 ประกันภัยรถยนต์
ขั้นตอนการคำนวณ
เพื่อให้ดูเข้าใจง่าย แต่ละขั้นตอนจะปัดทศนิยม 2 ตำแหน่ง ค่าที่ได้จะคลาดเคลื่อนกันไม่น่าจะเกิน 1 บาท
1.1 คำนวณแต่ละความเสี่ยง
 1.2 คำนวณความคุ้มครองเพิ่มเติม 1.3 เบี้ยประกันภัยรถยนต์จะได้เป็น ขั้นตอนที่ 2: คำนวณส่วนลดค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ ขั้นตอนที่ 3: คำนวณส่วนลดประวัติดีใน 1 ปีที่ผ่านมา 20% (จ่ายเพียง 80% ของเบี้ยประกันภัยท้งหมด) ดังนั้น เบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันภัยเสนอขายจะต้องอยู่ระหว่าง 9,125.46 - 16,176.02 เท่านั้น (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรอีกเล็กน้อย) จะเห็นว่า การสรุปว่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์จะถูกหรือแพงนั้น ต้องเทียบกับความคุ้มครองที่เป็นแบบเดียวกัน ส่วนการที่บริษัทประกันภัยจะเสนอเบี้ยประกันมากหรือน้อยก็ขึ้นกับลูกเล่นทางการตลาดรวมถึงชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย เช่น ซ่อมห้าง/ซ่อมอู่ มีรถใช้ระหว่างซ่อม บริการเสริมต่าง ๆ สำหรับผู้ที่อยากลองคำนวณเล่น ๆ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เอ็กเซลแล้วลองเปลี่ยนตัวเลขตัวนะครับ หลังลองก็อาจจะเกิดไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นได้ครับ
รายการคำนวณแต่ละความเสี่ยง
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
เบี้ยประกันพื้นฐาน
= 7,600
= 12,000
- ใช้ส่วนบุคคล
= 7,600 x 100% = 7,600
= 12,000 x 100% = 12,000
- ขนาดรถไม่เกิน 2,000 cc
= 7,600 x 112% = 8,512
= 12,000 x 112% = 13,440
- ระบุคนขับ เอาตามอายุ 26 ปี
= 8,512 x 90% = 7660.80
= 13,440 x 90% = 12,096
- อายุรถถูกนับเข้าปีที่ 3
= 7660.80 x 102% = 7,814.016
= 12,096 x 102% = 12,337.92
- จำนวนเงินเอาประกันของตัวรถยนต์ 400,000
= 7,814.02 x 180%
= 14065.236
= 12,337.92 x 180%
= 22,208.256
- กลุ่มรถยนต์ที่ 4
= 14065.24 x 105%
= 14,768.502
= 22,208.26 x 105%
= 23,318.673
- คุ้มครองบจ. 300,000 / คน
= 14,768.50 x 1.0075
= 14,879.26357
= 23,318.67 x 1.0075
= 23,493.560025
- คุ้มครองบจ. 10 ล้าน / ครั้ง
= 14,879.26 x 1.0180
= 15,147.08668
= 23,493.56 x 1.0180
= 23,916.44408
- คุ้มครองทส. 400,000 / ครั้ง
= 15,147.09 x 1.0050
= 15,222.82545
= 23,916.44 x 1.0050
= 24,036.0222
ผลลัพธ์ (A)
= 15,222.83
= 24,036.02
รายการคุ้มครองที่ต้องการเพิ่ม
วิธีคำนวณ
คุ้มครองตาม รย.01 ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะข้อ 1 – 3 ทั้งหมด 7 คน คนละ50,000 บาท
คนขับ = (50,000 / 1000)  x 3 x 1 = 150
ผู้โดยสาร = (50,000 / 1000)  x 1.50 x 6 = 450
รวม = 150 + 450 = 600
คุ้มครองตาม รย.02 คนละ 50,000 บาท
= 12 x 7 = 84
คุ้มครองตาม รย.03 วงเงิน 100,000 บาท
= 100,000 x 0.5% = 500
รวมเบี้ยประกันภัยคุ้มครองเพิ่มเติม (B)
= 600 + 84 + 500
= 1,184
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
ผลรวมเบี้ยประกัน
= 15,222.83 + 1,184
= 16,406.83
= 24,036.02 + 1,184
= 25,220.02
ผลรวมหลังหักค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับโดนสัญญา (C)
= 16,406.83 – 3,000
= 13,406.83
= 25,220.02 – 3,000
= 22,220.02
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
หักค่าเสียหายส่วนแรกที่จ่ายเพิ่มอีก 2,000 (D)
= 13,406.83 – 2,000
= 11,406.83
= 22,220.02 – 2,000
= 20,220.02
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
เบี้ยประกันภัยที่จ่าย
= 11,406.83 x 80%
= 9,125.46
= 20,220.02 x 80%
= 16,176.02

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น